Sompo

Innovation for Wellbeing

Home» สาระดีๆ จากซมโปะ» บทความดีๆ จากซมโปะ» คู่มือซื้อประกันสุขภาพสำหรับมือใหม่ เลือกอย่างไร

คู่มือซื้อประกันสุขภาพสำหรับมือใหม่ เลือกอย่างไร

03 ก.ค. 2021 |

คู่มือซื้อประกันสุขภาพสำหรับมือใหม่

การทำประกันสุขภาพถือเป็นหนึ่งในทางเลือกที่ดีสำหรับการวางแผนชีวิตและสร้างความอุ่นใจในอนาคต ซึ่งหลายคนกำลังสนใจและมองหา แต่อาจจะติดที่เป็นมือใหม่ ไม่ทราบว่าต้องเริ่มจากตรงไหน ดังนั้น ซมโปะ ประกันภัยมีข้อแนะนำสำหรับทุกท่านที่กำลังศึกษาข้อมูลเพื่อซื้อประกันสุขภาพว่าต้องดูอะไร คำนวณตรงไหน ถึงจะได้ประโยชน์แบบเต็มๆ

 

  1. สำรวจตัวเอง

ก่อนที่จะทำประกัน เราต้องสำรวจตัวเองก่อนว่าตอนนี้มีสวัสดิการหรือความคุ้มครองอะไรบ้าง โดยเฉพาะจากที่ทำงาน ควรเช็กความคุ้มครอง ค่าห้อง ค่ารักษา รวมถึงข้อจำกัดต่างๆ ที่มีอยู่ เพื่อเราจะสามารถเลือกซื้อประกันสุขภาพให้ครอบคลุมนอกเหนือจากสวัสดิการ และไม่เกิดการทับซ้อน นอกจากนี้ยังควรสำรวจข้อมูลทางด้านสุขภาพว่ามีโรคประจำตัว ความเสี่ยงจากโรคกรรมพันธุ์อย่างไรบ้าง เพราะส่วนใหญ่ประกันสุขภาพจะไม่ครอบคลุมโรคที่เป็นมาก่อน

 

  1. ทำความรู้จักประกันสุขภาพแต่ละประเภท

ประกันสุขภาพมีหลากหลายประเภท เราต้องทำความเข้าใจและเลือกที่เหมาะสมกับตัวเอง

2.1.  ประกันสุขภาพ ผู้ป่วยนอก (OPD) ให้ความคุ้มครองการรักษาพยาบาลในแผนกผู้ป่วยนอกของโรงพยาบาล หรือในห้องรักษาฉุกเฉินของโรงพยาบาล ซึ่งไม่มีความจำเป็นตามข้อวินิจฉัยและข้อบ่งชี้ซึ่งเป็นมาตรฐานทางการแพทย์ในการเข้ารักษาเป็นผู้ป่วยใน

2.2.  ประกันสุขภาพผู้ป่วยใน (IPD) ให้ความตุ้มครองการรักษาในโรงพยาบาลติดต่อกันไม่น้อยกว่า 6 ชั่วโมง ซึ่งต้องลงทะเบียนเป็นผู้ป่วยในโดยได้รับการวินิจฉัย และคำแนะนำจากแพทย์ตามข้อบ่งชี้ ซึ่งเป็นมาตรฐานทางการแพทย์ และในระยะเวลาที่เหมาะสมสำหรับการรักษาการบาดเจ็บหรือการเจ็บป่วยนั้นๆ และให้รวมถึงกรณีรับตัวให้เป็นผุ้ป่วยในแล้วต่อมาเสียชีวิตก่อนครบ 6 ชั่วโมง

2.3.  ประกันสุขภาพโรคร้ายแรง  ประกันสุขภาพโรคร้ายแรงคือ การมีวงเงินความคุ้มครองสูง เบี้ยประกันต่ำ (เมื่อเทียบกับเบี้ยประกันสุขภาพ) เนื่องจากประกันโรคร้ายแรงจำกัดความคุ้มครองเฉพาะโรคร้ายแรงที่กำหนดเท่านั้น เช่น 11โรคร้ายแรง หรือ  50 โรคร้ายแรง เป็นต้น ซึ่งขึ้นอยู่กับแบบประกัน จึงทำให้เบี้ยประกันถูกกว่าเบี้ยประกันสุขภาพปกติ ซึ่งมีแบบเจอ จ่าย จบ หรือ มีคุ้มครองต่ารักษาพยาบาล และอื่นๆ

2.4. ประกันอุบัติเหตุ (PA) การประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคล คือความคุ้มครองการประกันภัยในกรณีที่ผู้เอาประกันภัยเกิดความสูญเสียทางร่างกาย (บาดเจ็บ สูญเสียอวัยวะ พิการ เสียชีวิต) จากอุบัติเหตุเท่านั้น หากเกิดจากการเจ็บป่วยเป็นโรคจะไม่ได้รับความคุ้มครอง โดยมีผลประโยชน์หลากหลาย ซึ่งอยู่กับแบบประกัน

2.5. ประกันสุขภาพชดเชยรายได้ ประกันชดเชยรายได้ คือ ” คุ้มครองรายได้ ในช่วงที่เจ็บป่วย ไม่สามารถทำงานได้และต้องนอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาล โดยจะมีการ “จ่ายค่าชดเชยรายวัน (สินไหมทดแทน)” เงินชดเชยส่วนนี้ “ไม่ใช่เงินค่ารักษาพยาบาล” แต่เป็นเงินที่บริษัท ประกันจ่ายให้แทนรายได้เป็นรายวันตามจำนวนวันที่คุณต้องนอนรักษาตัวในโรงพยาบาล ซึ่งหากมีการทำประกันชดเชยรายได้ควบคู่กับประกันสุขภาพ ก็จะยิ่งช่วยลดภาระค่ารักษาพยาบาล และอุ่นใจได้มากกว่า เพราะยังมีเงินใช้จ่ายในชีวิตประจำวันแม้จะยังเจ็บป่วยอยู่ก็ตาม

ดังนั้นคนส่วนใหญ่มักจะเลือกทำประกันสุขภาพผู้ป่วยใน และประกันสุขภาพโรคร้ายแรง เพราะเป็นการรักษาที่มีค่าใช้จ่ายสูง ทำให้เมื่อเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝัน ความคุ้มครองจากประกันจะทำให้เงินเก็บของเราไม่กระทบมากนัก

 

  1. คำนวณเบี้ยประกันกับรายได้ของเรา

เบี้ยประกันเป็นอีกหนึ่งเรื่องใหญ่ที่ต้องให้ความสำคัญ เพราะเป็นสิ่งที่ผูกพันเราไปในระยะยาว โดยเบี้ยประกันที่เหมาะสมสำหรับประกันสุขภาพไม่ควรเกิน 10% - 15% ของรายได้รวมต่อปี เช่น หากมีรายได้ต่อเดือน 20,000 บาท รายได้ต่อปีจะเท่ากับ 240,000 บาท เมื่อคิดเบี้ยประกันที่เหมาะสมในหนึ่งปี 10% จะคิดเป็นเงิน 24,000 บาทต่อปี เป็นต้น

สิ่งที่ต้องคำนึงอีกเรื่องคือเบี้ยประกันจะมีการปรับขึ้นตามอายุของผู้ทำประกัน ฉะนั้นควรดูตารางค่าเบี้ยประกันตลอดอายุสัญญาด้วยว่าเหมาะสมกับรายรับและรายจ่ายหรือไม่ เพราะสิ่งสำคัญคือการจ่ายเบี้ยประกันอย่างต่อเนื่อง เพื่อรักษาความคุ้มครองเราไปได้ตลอด

 

  1. ทำความเข้าใจเงื่อนไขประกันสุขภาพให้ละเอียดถี่ถ้วน

เงื่อนไขประกันสุขภาพเป็นส่วนสำคัญที่สุดที่เราต้องอ่านให้ละเอียดและทำความเข้าใจก่อนที่จะตัดสินใจทำประกัน เพราะประกันสุขภาพแต่ละบริษัทให้ความคุ้มครองไม่เหมือนกัน รวมถึงมีข้อยกเว้นที่ไม่สามารถเบิกค่ารักษาพยาบาลได้ อาทิ เจ็บป่วยในระยะเวลารอคอย เจ็บป่วยด้วยโรคที่ไม่อยู่ในความคุ้มครอง เป็นต้น

 

  1. เบี้ยประกันสุขภาพสามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้

สิทธิพิเศษนอกเหนือจากความคุ้มครองที่มีในสัญญาแล้ว ประกันสุขภาพยังสามารถไปลดหย่อนภาษีได้อีกด้วย โดยในปี 2564 นี้เบี้ยประกันสุขภาพสามารถนำไปใช้ลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกิน 25,000 บาท (จากเดิม 15,000 บาท)นอกจากนี้ ประกันสุขภาพ ซมโปะ จัดเต็มครอบคลุมในเรื่องความคุ้มครองที่ไม่เป็นสองรองใครในราคาเบี้ยประกันที่ไม่แพง

- ประกันสุขภาพเต็มเต็ม ให้คุณรักษาได้เต็มเต็ม จ่ายค่ารักษาพยาบาลตามจริงสูงสุด 5 ล้านบาท/ปี* ครอบคลุมทุกรายการ ทั้งค่าห้อง ค่าอาหาร ค่าผ่าตัด ค่ารถพยาบาล* และวงเงินค่ารักษาต่อครั้ง ไม่จำกัดจำนวนครั้งต่อปี*

- ประกันโรคมะเร็ง SOMPO Cancer Care ที่เจอจ่าย แต่ไม่จบ! พร้อมดูแลต่อทั้งค่ารักษาพยาบาล ค่าเดินทางรวมถึงการตรวจวินิจฉัยซ้ำ ค่าเบี้ยคงที่ตลอดถึงอายุ 99 ปีมีที่เดียว!

 

หากใครอยากรู้จักซมโปะ ประกันภัย มากขึ้น ลองคลิกอ่านได้ที่บทความ "รู้จักพวกเราให้ดีกว่าเดิม! ซมโปะ บริษัท ประกันภัยช้ันนำของญี่ปุ่น"