Sompo

Innovation for Wellbeing

การบริหารสินทรัพย์และหนี้สิน (ASSET LIABILITY MANAGEMENT : ALM)

Home» เกี่ยวกับเรา» ข้อมูลเกี่ยวกับบริษัท» การบริหารสินทรัพย์และหนี้สิน (Asset Liability Management : ALM)

การบริหารสินทรัพย์และหนี้สิน (Asset Liability Management : ALM)

การบริหารสินทรัพย์และหนี้สินมีวัตถุประสงค์เพื่อการจัดการความเสี่ยงทางด้านการเงินสำหรับสินทรัพย์หนุนหลังเพื่อการจ่ายชำระหนี้สินสำหรับธุรกิจ เนื่องจากหนี้สินจากการรับประกันวินาศภัยส่วนใหญ่เป็นหนี้สินระยะสั้นจึงมีความเสี่ยงทางด้านดอกเบี้ยต่ำ แต่มีความเสี่ยงที่เกิดจากมหันตภัย ความเสี่ยงที่เกิดจากการกำหนดราคาผิดพลาด และความเสี่ยงด้านการประมาณการหนี้สินค่าสินไหมทดแทนคลาดเคลื่อนสูง กลยุทธ์การบริหารสินทรัพย์และหนี้สินของบริษัทฯ จึงเน้นไปทางการรักษาสภาพคล่องทางการเงินให้อยู่ในระดับที่เพียงพอและเหมาะสม อันเนื่องมากจากความไม่แน่นอนของจำนวนกระแสเงินสดจ่าย รวมถึงระยะเวลาที่จะต้องจ่าย บริษัทฯจึงมีการประมาณการกระแสเงินสดจ่ายหนี้สินอย่างสม่ำเสมอ และจัดสรรเงินลงทุนเช่น ตราสารหนี้และเงินฝากธนาคารที่มีอายุ วันครบกำหนดและอัตราผลตอบแทนที่เหมาะสมเพื่อให้มีกระแสเงินสดรับที่สอดคล้องกับกระแสเงินสดจ่ายที่ประมาณการไว้ ซึ่งกระบวนการดังกล่าวได้จัดทำโดยฝ่ายลงทุน โดยใช้ข้อมูลประกอบจากฝ่ายการเงินและฝ่ายสินไหมทดแทน


กลยุทธ์การบริหารสินทรัพย์และหนี้สินเน้นไปทางการรักษาสภาพคล่องทางการเงินเพื่อให้เพียงพอที่จะจ่ายชำระหนี้สินที่มีต่อผู้ถือกรมธรรม์ จำนวนกรมธรรม์ และหนี้สินตามกรมธรรม์ประกันภัยจึงเป็นสิ่งที่บริษัทนำมาใช้ในการพิจารณาตัดสินใจในการลงทุน ทั้งในเรื่องของระยะเวลาที่จะลงทุน และความเสี่ยงจากอัตราดอกเบี้ย

รายการ ปี 2563 ปี 2562 ปี 2561
ราคาบัญชี ราคาประเมิน ราคาบัญชี ราคาประเมิน ราคาบัญชี ราคาประเมิน
สินทรัพย์ลงทุน
(Total Investment Assets)
1,293.9 1,332.8 1,943.50 2,007.40 1,890.20 1,937.10
สินทรัพย์สภาพคล่อง
(Total Liquid Assets)
3,075.2 3,112.0 1,896.60 1,916.70 1,844.00 1,849.60
หนี้สินรวม 4,666.8 4,591.3 3,578.50 3,529.70 3,724.10 3,794.50
หนี้สินตามสัญญาประกันภัย 2,217.8 2,145.6 2,223.10 2,177.20 2,552.40 2,624.40

 

หมายเหตุ

ราคาบัญชี หมายถึง สินทรัพย์และหนี้สิน ที่ประเมินตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน
ราคาประเมิน หมายถึง สินทรัพย์และหนี้สินที่ประเมินตามประกาศคณะกรรมการกับกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยว่าด้วยการประเมินราคาทรัพย์สินและหนี้สินของบริษัทประกันวินาศภัย เพื่อวัตถุประสงค์หลักในการกำกับความมั่นคงทางการเงินของบริษัทประกันภัย และเพื่อให้มั่นใจว่าบริษัทมีความสามารถในการจ่ายผลประโยชน์ตามสัญญาประกันภัยได้อย่างครบถ้วนแก่ผู้เอาประกันภัย

มูลค่า วิธีการ และสมมติฐานในการประเมินหนี้สินจากสัญญาประกันภัย

รายการ ปี 2563 ปี 2562 ปี 2561
ราคาบัญชี ราคาประเมิน ราคาบัญชี ราคาประเมิน ราคาบัญชี ราคาประเมิน
หนี้สินจากสัญญาประกันภัย
- สำรองเบี้ยประกันภัยที่ยังไม่ถือเป็นรายได้ (Premium liabilities)
1,451.1 1,252.6 1,367.30 1,178.90 1,352.30 1,166.90
- สำรองค่าสินไหมทดแทน (Claim liabilities)  766.6 893.0 855.80 998.30 1,200.10 1,457.60

หมายเหตุ

ราคาบัญชี หมายถึง มูลค่าหนี้สินจากสัญญาประกันภัย ที่ประเมินตามมาตรฐานการบัญชี มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อให้นักลงทุนผู้วิเคราะห์ทางการเงินเข้าใจถึงมูลค่าทางเศรษฐศาสตร์ของหนี้สินจากสัญญาประกันภัยที่เป็นที่ยอมรับตามหลักการทางบัญชีในประเทศไทย ซึ่งมูลค่าดังกล่าวจะต้องผ่านการรับรองจากผู้สอบบัญชีอนุญาตแล้ว
ราคาประเมิน หมายถึง มูลค่าหนี้สินจากสัญญาประกันภัย ที่ประเมินตามประกาศคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยว่าด้วยการประเมินราคาทรัพย์สินและหนี้สินของบริษัทประกันวินาศภัย เพื่อวัตถุประสงค์หลักในการกำกับความมั่นคงทางการเงินของบริษัทประกันภัยและเพื่อให้มั่นใจว่าบริษัทความสามารถในการจ่ายผลประโยชน์ตามสัญญาประกันภัยได้อย่างครบถ้วนแก่ผู้เอาประกันภัยซึ่งจะต้องประเมินโดยนักคณิตศาสตร์ประกันภัยที่ได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียนตามหลักการทางคณิตศาสตร์ประกันภัยที่ได้รับการยอมรับ สมมติฐานที่ใช้ในการประเมินจะต้องสอดคล้องกับประสบการณ์จริงหรือในกรณีที่บริษัทมีข้อมูลไม่เพียงพออาจอ้างอิงจากประสบการณ์ของอุตสาหกรรมและปรับให้เหมาะสมกับลักษณะเฉพาะของพอร์ตการรับประกันภัยของบริษัทนั้น นอกจากนี้ มูลค่าสำรองประกันภัยดังกล่าวจะต้องรวมถึงค่าเผื่อความผันผวน (Provision of Adverse Deviation : PAD) ซึ่งให้เป็นไปตามที่สำนักงาน คปภ. กำหนด

ข้อสังเกต

ในบางช่วงเวลาของการรายงานทางการเงิน มูลค่าหนี้สินจากสัญญาประกันภัยอาจมีความแตกต่างระหว่างราคาบัญชีและราคาประเมินของ อย่างมีนัยสำคัญ อันเนื่องมากจากวัตถุประสงค์และวิธีการที่แตกต่างกันในการประเมินตามที่กล่าวไว้ข้างต้น ทั้งนี้ผู้ที่จะนำข้อมูลไปใช้ควรศึกษาและทำความเข้าใจถึงวัตถุประสงค์แนวทางการประเมินราคาหนี้สินจากสัญญาประกันภัยทั้งสองให้ถี่ถ้วนก่อนตัดสินใจ