Sompo

Innovation for Wellbeing

Home» สาระดีๆ จากซมโปะ» บทความดีๆ จากซมโปะ» Sick Building Syndrome ตึกเป็นพิษ โรคยอดฮิตของคนยุคใหม่

Sick Building Syndrome ตึกเป็นพิษ โรคยอดฮิตของคนยุคใหม่

27 ต.ค. 2021 | ไลฟ์สไตล์

Sick Building Syndrome

 

ในปีที่ผ่านมาวงการแพทย์ได้ให้ความสำคัญกับโรคใหม่ชื่อแปลกอย่าง Sick Building Syndrome หรือโรคตึกเป็นพิษ เพราะจากการสำรวจของศูนย์เป็นเลิศด้านโรคภูมิแพ้ โรคหืดและระบบหายใจ โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ พบว่า 1 ใน 3 ของผู้ที่อาศัยในเขตเมืองมีประวัติป่วยเป็นกลุ่มโรคนี้ และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอีกด้วย

 

โรคตึกเป็นพิษคืออะไร

โรคตึกเป็นพิษ หรือ Sick Building Syndrome (SBS) ไม่ใช่โรคชนิดเดียว แต่เป็นกลุ่มโรคที่จะแสดงอาการเมื่อต้องเผชิญกับปัจจัยเสี่ยงจากการใช้ชีวิตในอาคาร โดยมีสภาพแวดล้อมภายในตัวอาคารเป็นสิ่งเร้าให้เกิดอาการเจ็บป่วย ไม่ว่าจะเป็นความชื้น เชื้อรา สารเคมีจากวัสดุในอาคาร สารระเหยจากสีที่ทาผนัง ไรฝุ่นตามทางเดิน รวมถึงอากาศที่ไม่ถ่ายเท

 

อาการของโรคตึกเป็นพิษ

โรคตึกเป็นพิษไม่มีอาการเฉพาะเจาะจงอย่างชัดเจน แต่จะปรากฎอาการเจ็บป่วยขึ้นเมื่ออยู่ในตัวอาคารที่มีสภาวะแวดล้อมเป็นพิษ โดยอาจแสดงอาการเบาๆ ไปจนถึงรุนแรงในบางราย ดังนี้

  • รู้สึกอีดอัด หายใจไม่สะดวก
  • มีลักษณะของอาการภูมิแพ้ เช่น จาม คัดจมูก น้ำมูกไหล แสบร้อนในจมูก บางรายอาจมีผื่นขึ้นตามร่างกาย
  • รู้สึกปวดตา แสบตา อาจมีอาการตาแดง ตาแห้ง และน้ำตาไหล
  • ปวดหัว ปวดตา ปวดท้อง รวมถึงปวดเมื่อยตามร่างกาย
  • รู้สึกอ่อนเพลีย ไม่มีเรี่ยวแรง
  • รู้สึกหงุดหงิด หลงลืม ไม่มีสมาธิ
  • ผู้ป่วยโรคหอบ โรคทางเดินหายใจ หรือภูมิแพ้อาจทำให้อาการของโรคเหล่านี้กำเริบ บางรายอาจมีอาการรุนแรง เช่น วิงเวียนศีรษะ แน่นหน้าอก หายใจไม่ออก อาจช็อกและหมดสติได้

ดยอาการข้างต้นจะเกิดขึ้นเฉพาะเมื่ออยู่ในอาคารเท่านั้น หากอยู่ภายนอกร่างกายจะไม่หลงเหลืออาการเหล่านี้อยู่เลย

 

วิธีป้องกันโรคตึกเป็นพิษ

โรค Sick Building Syndrome ไม่มียารักษาโดยตรง เนื่องจากเป็นโรคที่เกิดจากสภาวะแวดล้อม จึงต้องรักษาไปตามอาการที่เกิดขึ้น การป้องกันตัวเองจึงเป็นเรื่องที่ควรให้ความสำคัญมากกว่า

 

  1. ดูแลตัวเองให้แข็งแรงอยู่เสมอ

การดูแลตัวเองให้มีสุขภาพที่ดี ไม่ว่าจะเป็นการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ พักผ่อนให้เพียงพอ ก็จะช่วยให้ร่างกายสามารถสร้างภูมิคุ้มกันต่อสภาพแวดล้อมที่เป็นพิษได้

 

  1. ปรับสภาพแวดล้อมให้เป็นมิตร

สาเหตุหลักเกิดจากสภาพแวดล้อมภายในอาคารที่ส่งผลเสียต่อร่างกาย การปรับสภาพแวดล้อมจึงเป็นวิธีการแก้ไขที่ดีที่สุด ไม่ว่าจะเป็นการทำความสะอาดอย่างสม่ำเสมอ ลดการใช้สารเคมีภายในตัวอาคาร ติดเครื่องฟอกอากาศให้ถ่ายเทได้สะดวก ปรับแสงสว่างให้เหมาะสม รวมถึงเพิ่มพื้นที่สีเขียว ปลูกต้นไม้ในตัวอาคาร

 

  1. ป้องกันตัวเองจากสภาพแวดล้อมที่เป็นพิษ

บางครั้งเราอาจเลือกไม่ได้ที่จะต้องเข้าไปเผชิญสภาพแวดล้อมในตัวอาคารเป็นเป็นพิษ การป้องกันตัวเองจึงเป็นสิ่งจำเป็น เช่น การใส่หน้ากากอนามัยเพื่อป้องกันฝุ่นละออง พยายามอยู่ในตัวอาคารให้น้อยที่สุด หรือหากมีเวลาพักก็ควรเดินไปข้างนอกเพื่อผ่อนคลาย ลดความตึงเครียด

 

แม้โรค Sick Building Syndrome ส่วนใหญ่จะส่งผลต่อร่างกายเฉพาะอยู่ในตัวอาคาร แต่ว่าหากเกิดขึ้นแล้วอาจส่งผลต่อชีวิตได้ เพื่อความไม่ประมาท นอกจากวิธีป้องกันข้างต้นแล้ว เราควรสร้างความมั่นคงและความอุ่นใจด้วยการทำประกันสุขภาพ ในกรณีหากเจ็บป่วยฉุกเฉินก็สามารถที่จะรับมือกับค่าใช้จ่ายที่ตามมาได้

สนใจทำประกันภัยกับ Sompo ติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่ ประกันสุขภาพ หรือโทรปรึกษาผู้เชียวชาญของเราที่ 02-119-3000