Sompo

Innovation for Wellbeing

Home» สาระดีๆ จากซมโปะ» บทความดีๆ จากซมโปะ» ดัดแปลงรถกระบะแบบไหนผิดกฎหมาย ตำรวจจับแน่ แถมประกันไม่คุ้มครอง

ดัดแปลงรถกระบะแบบไหนผิดกฎหมาย ตำรวจจับแน่ แถมประกันไม่คุ้มครอง

12 ก.ค. 2020 |

ดัดแปลงรถกระบะแบบไหนผิดกฎหมาย ตำรวจจับแน่ แถมประกันไม่คุ้มครอง

ดัดแปลงรถกระบะแบบไหนผิดกฎหมาย ตำรวจจับแน่ แถมประกันไม่คุ้มครอง

 

รถกระบะถือเป็นรถที่ครองใจชาวไทยและมีจำนวนผู้ใช้มากมายไม่น้อยกว่ารถยนต์นั่งส่วนบุคคลประเภทอื่นๆ ทั้งใช้งานทั่วไป ใช้งานแบบครอบครัว รวมไปถึงการใช้รถกระบะในเชิงพาณิชย์ หรือ กระบะรับจ้าง และการซื้อรถกระบะใหม่ 2020 หรือ รถกระบะมือสองก็มาก ซึ่งหลายท่านนิยมนำรถกระบะคันโปรดไปแต่งรถเพิ่มเติมเพื่อสวยงาม และเพิ่มสมรรถนะในการขับ รวมไปถึงเพื่อบรรทุกของหรือขนส่งสินค้าในการดำเนินธุรกิจต่างๆ แล้วการดัดแปลงสภาพรถกระบะเป็นรถแต่งแบบไหนถูก แบบไหนผิดกฎหมาย ประกันภัยไม่คุ้มครองหรือไม่บ้าง

โดยทางกรมขนส่งทางบกได้ออกมาประกาศแจ้งว่า การดัดแปลงแก้ไขสภาพรถ ไม่ว่าจะติดตั้งอุปกรณ์แต่งรถยนต์ หรืออุปกรณ์อำนวยความสะดวกต่างๆ ที่เพิ่มเข้ามานอกเหนือจากที่ทางโรงงานใส่มาให้ โดยที่ไม่ได้ระบุไว้ในรายการจดทะเบียน จะต้องแจ้งต่อนายทะเบียนทุกครั้งที่มีการดัดแปลงสภาพรถ ไม่ว่าจะเป็น เปลี่ยนสีตัวถัง, ดัดแปลงหรือเปลี่ยนเครื่องยนต์, ฝาปิดด้านท้ายติดตั้งอุปกรณ์ทุ่นแรงยกสิ่งของ, ติดตั้งโครงหลังคาหรือโครงเหล็กด้านข้างรถ,เปลี่ยนชนิดเชื้อเพลิง ตลอดจน แก้ไขดัดแปลงตัวถังรถ, ระบบรองรับน้ำหนัก, ระบบกันสะเทือน, ระบบบังคับเลี้ยว, ระบบขับเคลื่อน ที่ต้องแจ้งรายการดัดแปลงรถยนต์ต่อนายทะเบียน

ซึ่งวันนี้เราจะเน้นไปที่รถกระบะเชิงพาณิชย์ เช่น กระบะรับจ้าง หรือ กระบะบรรทุกของ ว่ามีวิธีขนของอย่างไร หรือถ้าจะต่อเติม แต่งรถ หรือดัดแปลงให้ตัวรถมีประสิทธิภาพในการใช้งานตามวัตถุประสงค์ได้ดียิ่งขึ้น ต้องทำอย่างไรจึงจะสามารถขับขี่ได้ปลอดภัยและไม่ขัดต่อกฏหมาย

 

บรรทุกของอย่างไร...ให้ถูกกฎหมาย

การใช้รถกระบะบรรทุกของทั้งแบบที่ต่อเติมและไม่ต่อเติมนั้น มีกฎข้อห้ามการบรรทุกตามพ.ร.บ.จราจรทางบก ปี 2522 มาตรา 5 และมาตรา 15ประกอบกับ กฎกระทรวง และข้อกำหนดกรมตำรวจ ระบุไว้ว่า ด้านหน้าจะต้องไม่ยื่นเกินหน้าหม้อรถ ส่วนด้านหลังยื่นได้ไม่เกิน 2.50 เมตร หากเป็นรถพ่วงด้านหลังจะต้องยื่นไม่เกิน 2.50 เมตร และความกว้างบรรทุกได้ไม่เกินความกว้างตัวรถ ส่วนความสูงให้บรรทุกจากพื้นทางได้ไม่เกิน 3.00 เมตร กรณีที่ตัวรถมีความกว้างเกิน 2.30 เมตร ให้บรรทุกสูงได้ไม่เกิน 3.80 เมตร หากมีการบรรทุกเกินความยาวของตัวรถ จะต้องมีการติดธงสีแดงเรืองแสงทรงสีเหลี่ยมผืนผ้าขนาด 30x45 ซม. ไว้ที่ปลายสิ่งของที่บรรทุกมา เช่นเดียวกันในตอนกลางคืนต้องมีการติดสัญญาณไฟสีแดงที่สามารถมองเห็นได้ชัดในระยะ 150 ม. และต้องมีการป้องกันสิ่งของไม่ให้ตกหล่น รั่วไหล หรือปลิวตกจากรถเพื่อความปลอดภัย หากผู้ขับขี่ไม่ปฏิบัติอาจโดนโทษปรับ 1,000 บาทได้เช่นเดียวกัน

รถกระบะบรรทุกสินค้าผลไม้ ความสูงไม่เกิน 3 เมตรถือว่าถูกกฎหมาย

 

เสริมคอก..ต่อหลังคาแบบไหนไม่ผิด

สำหรับการเสริมคอกหรือแต่งรถต่อเติมเพิ่มโครงเหล็กที่ด้านท้ายรถกระบะ (กระบะคอก) ซึ่งของเดิมไม่มีนั้น ตาม พ.ร.บ.รถยนต์ พ.ศ. 2522 มาตรา 12 ประกอบมาตรา 60 ซึ่งมีโทษปรับสูงสุดไม่เกิน 2,000 บาท ฐานการแก้ไขดัดแปลงรถ หากเจ้าของมีการดัดแปลงตัวรถกระบะหรือส่วนใดส่วนหนึ่งผิดจากรายการที่จดทะเบียน ไม่ว่าจะติดตั้งตะแกรงเหล็กหรือเสริมรั้วกระบะข้าง หรือที่เรียกว่า “เสริมคอก” รวมถึงการติดโครงเหล็กเสริมบนหลังคา นั้นจะต้องยึดระยะตามกฎข้อห้ามการบรรทุกตามหัวข้อด้านบน คือ ด้านข้างต้องกว้างไม่เกิน 2.30 เมตรหากความสูงไม่เกิน 3.00 เมตร และความสูงไม่เกิน 3.80 เมตร กรณีที่ตัวรถมีความกว้างเกิน 2.30 เมตร

แต่งรถกระบะเสริมคอก ความสูงไม่เกิน 3 เมตรถือว่าถูกกฎหมาย

ซึ่งการต่อเติมดังกล่าวอาจส่งผลต่อหน้ำหนักและความแข็งแรงของตัวรถ ดังนั้นจึงต้องมีการนำรถเข้ามาตรวจสภาพ โดยนำเอกสารใบเสร็จการติดตั้งเพื่อแจ้งแก้ไขยังสำนักงานขนส่งที่จดทะเบียนเพื่อตรวจสอบความแข็งแรงและปลอดภัยก่อนนำไปใช้งาน นอกจากนี้การเปลี่ยนดัดแปลงรถกระบะธรรมดาเป็นรถกระบะที่ใช้บรรทุก จะต้องเปลี่ยนรูปแบบการเสียภาษีประจำปีจากเดิมมีเป็นอัตราของรถกระบะบรรทุก ดังนั้นก่อนจะทำการดัดแปลงควรศึกษาข้อมูลและทำทุกอย่างให้ถูกต้อง และการเสริมคอกแบบนี้ การประกันภัยถือว่าเป็นการแต่งรถ จะไม่ครอบคลุมการคุ้มครองด้วย แต่ถ้าเป็น ประกันภัยรถกระบะ “ใจใจ” และ ”ใจดี” เขามีคุ้มครองให้ ลองอ่านรายละเอียดได้ที่ https://welcome.sompo.co.th/pickup-jai-jai-and-pickup-jai-dee

 

ดัดแปลงกระบะเพื่อรับผู้โดยสาร..ทำอย่างไร

การดัดแปลงรถกระบะเพื่อใช้ขับรถรับส่งผู้คน เช่น รถโรงเรียน หรือรถสองแถวรับจ้างนั้นสามารถทำได้แต่จะต้องมีการติดตั้งอุปกรณ์เสริมความปลอดภัย เพื่อป้องกันอุบัติเหตุจากรถชน เหตุสถานการณ์ฉุกเฉิน หรือ ผู้โดยสารตกจากรถ และต้องติดตั้งไฟสัญญาณเป็นสีเหลืองอำพันรอบคันเพื่อให้มองเห็นในระยะ 150 เมตร และไม่บดบังไฟเบรกและไฟเลี้ยว หากเป็นรถสองแถวตัวคนขับเองก็จะต้องได้รับการอบรมใบขับขี่สาธารณะด้วยเพื่อความปลอดภัย

รถกระบะบรรทุกผู้โดยสาร

 

เสริมแหนบ เบิ้ลโช๊ค..ทำได้ไหม

สำหรับกระบะที่ต้องการดัดแปลงเสริมแหนบ เพลา และเบิ้ลโช๊ค (เพิ่มโช็ค) เพื่อรองรับงานบรรทุกของที่มีน้ำหนักมากนั้น ถ้าจะดูกันว่าถูกหรือผิดก็ต้องว่าไปตามกฎหมายตามรายการการจดทะเบียนที่เจ้าของรถยื่นจดทะเบียนไว้กับกรมขนส่งทางบกว่า ณ วันที่แจ้งจดทะเบียนแจ้งน้ำหนักบรรทุกเท่าไหร่ จำนวนล้อยาง เพลาที่ใช้ โช๊คกี่ต้น และอุปกรณ์ต่างๆ หากมีการตกแต่งหรือดัดแปลงเพิ่มเติม เจ้าของรถจะต้องมีการนำรถเข้าตรวจสภาพพร้อมดำเนินการแจ้งแก้ไขในเอกสารสมุดคู่มือจดทะเบียนรถ เพื่อขออนุญาตินายทะเบียนก่อนนำรถออกไปใช้งาน โดยแสดงเอกสารใบเสร็จการติดตั้งเพื่อแจ้งแก้ไขยังสำนักงานขนส่งที่จดทะเบียนเพื่อตรวจสอบความแข็งแรงและปลอดภัยก่อนนำไปใช้งาน

สำหรับเรื่องการประกันภัยในกรณีนี้ก็เช่นกัน เสริมแหนบถือว่าเป็นการแต่งรถ จะไม่ครอบคลุมการคุ้มครองด้วย แต่ถ้าเป็น ประกันภัยรถกระบะ “ใจใจ” และ ”ใจดี” เขามีคุ้มครองให้ ลองอ่านรายละเอียดได้ที่ https://welcome.sompo.co.th/pickup-jai-jai-and-pickup-jai-dee

แต่งรถกระบะเสริมเพลา

 

โหลดเตี้ย ยกสูง..แค่ไหนถึงไม่ผิด

มาถึงหัวข้อที่สายซิ่งและขาลุยรอคอย กับคำถามที่โหลดเตี้ย หรือ ยกสูงได้แค่ไหนถึงจะไม่ผิดกฏหมาย ซึ่งในหัวข้อนี้ใน พ.ร.บ.รถยนต์ปี 2522 ได้ระบุไว้ชัดเจน สำหรับการแต่งรถโหลดเตี้ยนั้นให้ยึดหลักการวัดจากพื้นถนนจนถึงระยะกึ่งกลางของไฟหน้ารถจะต้องไม่ต่ำกว่า 40 ซม. ถ้าต่ำกว่าถือว่าผิด รวมถึงพวกที่ใส่สปอยเลอร์ต่ำเตี้ยเลี่ยดินนั้น แม้จะวัดระยะไฟหน้าแล้วสูงกว่า 40 ซม.ก็ตาม ตรงนี้ต้องใช้ดุลพินิจจากเจ้าหน้าที่ตำรวจนายช่างตรวจสภาพกรมขนส่ง และผู้วินิจฉัยผล ต.ร.อ. ว่าเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุหรือสร้างความเดือดร้อนให้แก่ตนเอง และผู้อื่นหรือไม่ ซึ่งตรงนี้อาจถือว่าเป็นการดัดแปลงสภาพรถที่ผิดไปจากจดทะเบียนได้เช่นกัน

 

ส่วนพวกรถกระบะที่ยกสูงนั้นให้ใช้หลักการเดียวกันในการวัดคือจากพื้นถนนถึงระยะกึ่งกลางไฟหน้ารถจะต้องไม่เกิน 135 ซม. ถ้าเกินถือว่ามีความผิดตาม พ.ร.บ.รถยนต์ ปี 2522 ซึ่งมีโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท

แต่งรถกระบะโหลดสูง เตี้ย วัดจากพื้นถนนถึงระยะกึ่งกลางไฟหน้ารถ

 

สรุปแล้วการแต่งรถหรือดัดแปลงรถกระบะไม่ว่าจะทำเพื่อความสวยงามหรือทำเพื่อใช้งานและการบรรทุกสิ่งของซึ่งผิดไปจากรายการที่จดทะเบียนไว้ และไม่มีการแจ้งในการดัดแปลงรถเพิ่มเติมต่อนายทะเบียน จะถือว่ามีความผิดตามพ.ร.บ.รถยนต์ อาจถูกจับปรับตามอัตราโทษต่างๆ ที่ได้กล่าวไปข้างต้น อีกทั้งเรื่องประกันภัยอาจไม่คุ้มครองอีกด้วย

ดังนั้นก่อนจะทำการตกแต่งหรือดัดแปลงสภาพรถควรศึกษาข้อกฏหมายและขอคำแนะนำก่อนที่จะลงมือทำ จะได้ไม่ต้องถูกจับเสียค่าปรับและเพื่อความปลอดภัยทั้งกับตัวเองและผู้ใช้รถใช้ถนนคนอื่นๆ อีกด้วย ที่สำคัญอย่าลืมติดต่อบริษัทประกันภัยรถยนต์เพื่อทำกรมธรรม์ใหม่ให้คุ้มครองไปถึงส่วนที่ดัดแปลงและต่อเติมเพิ่มก่อนนำมาใช้งาน

ซึ่งหากกำลังมองหาประกันภัยที่คุ้มครอง การเสริมคอก แหนบ เพลา สำหรับคนที่ใช้งานจริงล่ะก็ บอกเลยว่าต้องประกันรถยนต์ ชั้น 1 ประกันภัยรถกระบะ "ใจใจ" และ "ใจดี" จากซมโปะ ประกันภัย

  • หนึ่งเดียวที่คุ้มครอง รถ คน คอก แหนบ แบบจัดเต็ม!
  • ชดเชยรายได้รายวัน สูงสุด 1,000 บาท/วัน
  • ชดเชยค่าเดินทางไปซ่อมอู่ 400 บาท/วัน
  • มีบริการช่วยเหลือฉุกเฉินบนท้องถนนตลอด 24 ชม.
  • ผ่อนชำระเบี้ยได้สบาย 0% นาน 10 เดือน
  • เงื่อนไขเป็นไปตามที่บริษัทฯ และธนาคารกำหนด

ดูรายละเอียดได้ที่ https://welcome.sompo.co.th/pickup-jai-jai-and-pickup-jai-dee

 

สนใจปรึกษาเราได้ที่ 02-119-3000 "พกซมโปะไว้อุ่นใจกว่า"