Sompo

Innovation for Wellbeing

Home» Sompo Article» Know more with Sompo» สังเกตและรับมืออย่างไรกับคนใกล้ตัวที่เป็นโรคซึมเศร้า

สังเกตและรับมืออย่างไรกับคนใกล้ตัวที่เป็นโรคซึมเศร้า

27 Aug 2020 |

สังเกตและรับมืออย่างไรกับคนใกล้ตัวที่เป็นโรคซึมเศร้า

สังเกตและรับมืออย่างไรกับคนใกล้ตัวที่เป็นโรคซึมเศร้า

สังเกตและรับมืออย่างไรกับคนใกล้ตัวที่เป็นโรคซึมเศร้า

 

ในสังคมปัจจุบันคงปฏิเสธไม่ได้เลยว่าเรื่องของ “โรคซึมเศร้า” เป็นหนึ่งในโรคที่อยู่ใกล้ตัวคนยุคนี้ แม้คนส่วนใหญ่จะมองว่าเป็นเรื่องของความรู้สึก แต่แท้จริงแล้วโรคซึมเศร้า  กลับเป็นโรคที่ต้องเข้ารับการรักษาจากแพทย์ และใช้ระยะเวลานานในการรักษาให้หายเป็นปกติ ซึ่งหากมีอาการรุนแรงอาจนำไปสู่การเสียชีวิตได้

“โรคซึมเศร้า” เป็นโรคที่เกี่ยวกับการป่วยภายในจิตใจ ซึ่งเป็นสิ่งที่เรามองไม่เห็นเหมือนอาการเจ็บที่ภายนอกร่างกาย หากอาการเศร้าหดหู่เกิดขึ้นเพียงชั่วคราวนั้นถือเป็นอาการธรรมดาที่เราสามารถจัดการให้ดีขึ้นได้ตามสภาพของอารมณ์ แต่หากว่าเกิดขึ้นอย่างรุนแรง เป็นอยู่นานจนไม่มีท่าทีจะดีขึ้น และมีอาการต่างๆ ที่รุนแรงขึ้นตามมา ก็อาจจะเข้าข่ายของการเป็น “โรคซึมเศร้า”

เราจะทราบได้อย่างไรว่าเป็น “โรคซึมเศร้า”  หรือไม่?

อันดับแรกเลยคือการที่เราต้องเข้าใจก่อนว่า “โรคซึมเศร้ามิใช่อาการที่ผู้ป่วยคิดไปเอง แต่คำว่า “โรค” นั้นชี้วัดว่าเป็นอาการป่วย บ่งบอกว่าเป็นอาการผิดปกติ ที่ต้องพบแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพ เพื่อให้คำแนะนำสำหรับอาการ และให้ใช้ยารักษาดังเช่นโรคอื่นๆ

อันดับที่สองคือต้องเข้าใจว่าอาการของโรคซึมเศร้านั้นมิได้เกิดจากการที่ผู้ป่วยเป็นมีจิตใจที่อ่อนแอไม่ยอมต่อสู้กับปัญหา แต่การที่ผู้ป่วยเกิดอาการเช่นนี้เกิดจาก “โรค” ผู้ป่วยเป็นโรคซึมเศร้านั้นจะมีพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก ไม่ว่าจะด้านอารมณ์ ความนึกคิด หรือกระทั้งนิสัยบางอย่าง หากพบว่าตัวเองหรือคนรอบข้างมีอาการเหล่านี้ ควรรีบไปตรวจร่างกาย เพราะแน่นอนว่าเป็นอาการป่วยที่สามารถรักษาหายกลับมาเป็นคนที่ร่าเริงแจ่มใสได้อีกครั้งหากได้รับการรักษาอย่างถูกวิธี

 

สาเหตุของโรคซึมเศร้า

=

สาเหตุของโรคซึมเศร้า

สาเหตุของโรคซึมเศร้านั้นมีทั้งจากปัจจัยภายนอกและปัจจัยภายใน เรียกได้ว่าเป็นโรคที่ค่อนข้างละเอียดอ่อนและต้องใช้ความเข้าใจมากกว่าโรคอื่นๆ

1.เกิดจากพันธุกรรม ผู้ที่มีญาติหรือคนในครอบครัวเป็นโรคทางอารมณ์

2.ความผิดปกติในสมองที่เนื่องมาจาก เคมีสารสื่อประสาทในสมอง ระบบประสาท และฮอร์โมน ซึ่งทำให้ส่วนใหญ่ผู้หญิงจึงมักเป็นโรคนี้มากกว่าผู้ชาย

3.สภาพแวดล้อม การเลี้ยงดูตั้งแต่เด็ก ถือเป็นสิ่งสำคัญที่เกี่ยวข้องกับเหตุผลของการเป็นโรค

4.สถานการณ์เลวร้ายที่เกิดขึ้นในชีวิต และเกิดการกระทบกระเทือนทางจิตใจอย่างรุนแรง ทำให้ส่งผลถึงมุมมองและกระบวนการคิดของเจ้าตัว ทำให้มักกลายเป็นคนมองโลกในแง่ร้าย ไม่ภูมิใจในตัวเอง รู้สึกไม่มีใครรักตน ปกปิดความรู้สึกกับผู้อื่นเพราะไม่ไว้ใจใคร รวมถึงปัญหาชีวิต ที่พบเจอ ณ ขณะนั้น หากเจอแบบซ้ำๆ ก็อาจทำให้เกิดโรคขึ้นได้

5.ภาวะซึมเศร้าที่อาจได้รับจากโรคผิดปกติอย่างอื่น เช่น โรคไทรอยด์ โรคอารมณ์สองขั้ว หรือได้รับผลค้างเคียงจากยารักษาโรคบางชนิด หรือยาเสพติด เป็นต้น

 

ภาพอาการโรคซึมเศร้า จะแสดงอาการต่างๆ เหล่านี้

 

วิธีสังเกตอาการผิดปกติของคนเป็น “โรคซึมเศร้า”

ลักษณะการเปลี่ยนแปลงถือเป็นสิ่งสำคัญที่เราจะสังเกตว่าเป็นโรคซึมเศร้าหรือไม่?

ลักษณะเด่นของผู้เป็นโรคซึมเศร้าที่สำคัญเลยคือ “อารมณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป ความคิดที่เปลี่ยนไป”

หากแต่ก่อนเคยเป็นบุคคลที่มีลักษณะร่าเริงแจ่มใส แล้วกลายเป็นคนเศร้า หดหู่ สะเทือนใจง่าย เจ้าน้ำตา จะทำให้ดูออกง่าย แต่บางรายอาจหม่นหมองไม่แจ่มใส เบื่อไปซะทุกอย่าง สิ่งที่เคยทำแล้วชอบแต่ตอนนี้กลับไม่ชอบเช่นเดิมแล้ว ยังมีอาการฉุนเฉียวร่วมด้วย ถึงขั้นไม่สามารถควบคุมอารมณ์ได้

• เก็บตัว แยกตัวออกจากสังคม

• รู้สึกเศ้รา ท้อแท้ และสิ้นหวัง

• รู้สึกตนเองไร้ค่า

• รู้สึกผิดและโทษตนเองตลอดเวลา

• ขาดความสนใจหรือความเพลิดเพลินในการทำกิจกรรมต่างๆ

• เคลื่อนไหวช้างลงหรือกระสับกระส่าย

• เหนื่อยและอ่อนเพลียตลอดเวลา

• ขาดสมาธิ ความสามารถในการคิดและการตัดสินใจน้อยลง

• เบื่ออาหารหรืออยากอาหารมากขึ้น

• นอนมากหรือน้อยกว่าปกติ

• มีความคิดหรือพยายามฆ่าตัวตาย

• มีปัญหาในการทำงานและการใช้ชีวิตในสังคม

(อ้างอิงจาก :https://www.bangkokhospital.com/th/disease-treatment/depression )

 

โรคซึมเศร้านอกจากจะมีผลกระทบกับตัวเองแล้ว ก็มักจะกระทบกับความสัมพันธ์กับบุคคลรอบช้าง หากเรามีคนใกล้ตัวที่เป็นโรคซึมเศร้าหรือเป็นหนึ่งในบุคคลที่ต้องอยู่ร่วมกับคนที่เป็นโรคซึมเศร้า เราก็จำเป็นจะต้องหาวิธีรับมือเพื่อผู้ป่วยหายได้ไวขึ้น สำหรับผู้ที่ป่วยเป็นโรคซึมเศร้านั้นเป็นโรคที่เราต้องใช้ความเข้าใจสูง เพราะเป็นโรคที่ค่อนข้างละเอียดอ่อน คำพูดของเราสามารถไปทำร้ายผู้ป่วยได้ง่ายๆ วิธีที่จะรับมือนั้นคือความเข้าว่าโรคนี้จะต้องใช้คำพูดแบบไหนเพื่อให้ผู้ป่วยรู้สึกดี คำพูดไหนห้ามใช้เพราะจะทำให้ผู้ป่วยแย่หนักกว่าเดิม

ประโยคต้องห้ามที่ไม่ควรพูด และประโยคที่เหมาะสมกับผู้ป่วยโรคซึมเศร้า

 

ประโยคต้องห้ามสำหรับผู้ป่วยโรคซึมเศร้า

สิ่งที่ไม่ควรพูดคือ คำห้าม คำกดดัน คำพูดเชิงลบ คำที่กระทบจิตใจผู้ป่วย

“อย่าคิดมาก”
“เลิกคิดมาก”

“ร้องไห้ทำไม ห้ามร้องไห้”
“เสียใจด้วยนะ / แย่จังเลย”
“พยายามอีก / ต้องทำได้ / ทำไมทำไม่ได้”
“แค่นี้เอง เดี๋ยวก็ดีเอง”
“อย่าท้อ”
“มีคนที่แย่กว่าคุณอีก”
“สู้ๆ นะ” (ในทางจิตวิทยาเรียกว่า
Ignorance เป็นการปล่อยให้ผู้ป่วยสู้ด้วยตนเองตามลำพัง หรือผู้ป่วยอาจคิดว่าคุณไม่รู้ว่าจะช่วยอย่างไรดี)

เพราะอย่างที่ได้กล่าวไปว่านี้เป็นอาการของโรค ผู้ป่วยมิได้อยากคิดมาก การที่เราปลอบใจด้วยวิธีนี้จะทำให้ผู้ป่วยยิ่งรู้สึกว่าทำไมตนเองแย่ถึงเลิกคิดมากไม่ได้

 

ประโยคที่เหมาะสมสำหรับผู้ป่วยโรคซึมเศร้า

“อีกไม่นานเธอก็จะดีขึ้น หรือ อดทนไว้นะ”
“ไม่มีใครตั้งใจให้เรื่องร้ายๆ มันเกิดหรอก ฉันรู้ดี”“ฉันก็ไม่รู้หรอกนะว่าเธอจะรู้สึกแย่สักแค่ไหน แต่ฉันยินดีจะทำความเข้าใจเธอนะ”
“พวกเราจะไม่ทิ้งเธอนะ เราจะอยู่ข้างๆ เธอ”
“เธอไม่ได้เป็นบ้า เธอก็แค่เศร้า”
“มากอดกันไหม”
“ออกไปเดินเล่นกันไหม”
“ฉันขอโทษที่ทำร้ายคุณ ฉันจะช่วยเธอได้อย่างไรบ้าง”
“ฉันรักเธอ แม้เธอจะเป็นยังไง”

การจับมือให้กำลังใจกับผู้เป็นโรคซึมเศร้า

 

ยังมีกิจกรรมที่เราสามารถชวนคนใกล้ตัวที่เป็นโรคซึมเศร้าออกมาทำร่วมกันได้ โดยที่จะทำให้ผู้ป่วยอาการดีขี้นแล้วยังทำให้ฟุ้งซ่านน้อยลงอีกด้วย แต่สิ่งสำคัญเลยสำหรับการชวนไปทำกิจกรรมก็คือ หากผู้ป่วยยังอยู่ในสภาพที่ไม่พร้อม ห้ามบังคับผู้ป่วยเป็นอันขาด ให้ผู้ป่วยได้ไปพักผ่อนเสียดีกว่า แต่หากว่าอาการดีขึ้นแล้ว จึงสามารถชวนไปทำกิจกรรมเหล่านี้ได้

1. ชวนไปออกกำลังกาย นอกจากจะทำให้ร่างกายมีสุขภาพที่ดีขึ้นแล้ว การออกกำลังกายยังช่วยให้จิตใจของผู้มีอาการซึมเศร้าดีขึ้นได้ ควรเป็นการออกกำลังกายง่ายๆ ที่ไม่ต้องใช้สมาธิมากเช่นการวิ่ง การเดิน แอโรบิก ยิ่งช่วยให้ผู้ที่มีอาการซึมเศร้านอนหลับ และทานอาหารได้ดีขึ้น แถมการไปเป็นเพื่อนกับผู้ป่วยยังช่วยให้รู้สึกไม่โดดเดี่ยวอีกด้วย

2. กิจกรรมที่ทำให้รู้สีกดีและเกิดความผ่อนคลาย เช่น พาไปเดินเล่นเปิดหูเปิดตาที่สวนสาธารณะ ชวนไปเที่ยวทะเล ภูเขา

หากใครที่มีคนใกล้ตัวเป็นโรคซึมเศร้าแม้จะเป็นโรคที่ค่อนข้างละเอียดอ่อน ต้องใช้ความเข้าใจเป็นอย่างสูง แต่ก็สามารถที่รักษาให้หายได้หากได้รับการดูแลอย่างถูกต้อง ที่สำคัญเลยคือกำลังใจจากคนที่อยู่ข้างๆ นี่เอง คอยให้คำปรึกษาแก่ผู้ป่วยเสมอ อย่าลืมที่จะให้กำลังใจคนที่เรารักอย่างถูกวิธี และหาทางออกของโรคซึมเศร้าไปด้วยกัน

นอกจากนี้ลองเช็คสุขภาพของตัวเองว่าอยู่เฟสไหน (link to บทความ "เช็คสิ… สุขภาพเราอยู่เฟสไหนแล้ว") เป็นอย่างไรกันบ้างแล้วเพิ่มเติมด้วยก็ดี

อ้างอิงจาก : https://www.bangkokhospital.com/th/disease-treatment/depression ,Mahidol Channel และคลินิกสุขภาพจิตนายแพทย์เจษฎา